“Sony Digital Camera” ใส่ยี่ห้อเข้าไปทำให้มันแคบลงมาเรื่อยๆ
“Sony Digital Camera 7.1MP with 3x Optical Zoom” เมื่อไล่มาจนมาถึงทางขวาสุดซึ่งจะเห็นว่า Keyword ยาวขึ้นมาจนแทบจะเป็นประโยคเลยทีเดียว นี่แหละครับเรียกว่า Long Tail Keyword เพราะสื่อความหมายอย่างชัดเจนเอามากๆ รู้เลยว่าเป็นกล้องแบบไหน ยี่ห้อไหน คุณสมบัติแบบไหน
การทำ Keyword Research นั้นเป็นกระบวนการสำคัญในการทำ SEO มันเป็นเสมือนจุดเริ่มต้นก่อนที่เราจะลงมือปรับแต่งเว็บไซต์และเขียน Content เข้าไปในเว็บไซต์ จึงไม่แปลกที่คนส่วนใหญ่มักจะเริ่มการทำ SEO จากการเลือก Keyword ก่อน แต่กระบวนการทำ Keyword Research ก็ยังมีความสับสนและมีโอกาสสร้างความลำบากให้กับชีวิตคนทำ SEO ได้มากถ้าหากคุณเลือก Keyword ไม่ถูกต้อง
หลายๆคนที่พอมีพื้นฐานการทำ SEO มาบ้างน่าจะพอเข้าใจว่า เวลาที่เราเลือก Keyword มาทำ SEO เรามักจะมองหาคุณสมบัติต่างๆเหล่านี้
นี่เรียกว่าเป็นบริบทในการค้นหาที่ Google พยายามจะสังเกตและนำมาพัฒนาปรับปรุงผลการค้นหาให้ตรงกับความต้องการของผู้ค้นหามากที่สุด นั่นก็เพื่อมอบประสบการณ์ใช้งานที่ดีที่สุดให้กับผู้ใช้ทุกคน แล้วมันเกี่ยวอะไรกับการทำ SEO ของเรา
ถ้าคุณค้นหาใน Device อื่นๆเช่น Mobile อาจจะได้ผลลัพธ์ที่แตกต่างออกไป อาจจะมองไม่เห็นเว็บไซต์ที่ไม่รองรับการแสดงผลในมือถือ (Mobile-friendly)
จะเห็นว่าการทำ SEO ในปัจจุบันนี้จะโฟกัสไปที่ Keyword อย่างเดียวเหมือนเมื่อก่อนไม่เพียงพอแล้ว แต่ต้องสนใจบริบทที่เกี่ยวข้องกับตัวผู้ใช้ทั้งหมดว่าตรงกับคุณค่าที่เว็บไซต์ของเรามอบให้หรือไม่ เพราะว่าบริบทเหล่านี้จะเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดผลการค้นหาที่ Google เลือกหยิบมาแสดงกับผู้ใช้ วันนี้ลาไปเท่านี้ครับ
ทุกวันนี้คนค้นหาสิ่งที่ตัวเองสงสัยหรือต้องการใน Google แล้ะใช้บ่อยไม่แพ้ Facebook, Instagram, Youtube หรือ Line จำนวนการค้นหาหรือคำถามที่ Google ได้รับอยู่ “ทุกวินาที” นั้นเกินกว่า 40,000 ครั้ง หมายความว่า Google ได้รับคำถามและคำที่ถูกค้นเกิน 3.5 พันล้านในแต่ละวัน (อ้างอิงสถิติจาก internetlivestats.com)
ฉะนั้นการเอาเว็บไซต์หรือแอปฯขึ้นหน้าหนึ่งและติดอันดับต้นๆบน Google จึงเป็นเรื่องที่ธุรกิจหลายๆเจ้าให้ความสำคัญ เมื่อคนค้นหาในสิ่งที่สงสัยหรือต้องการ เว็บไซต์ของเราจะต้องปรากฎให้คนนั้นเห็นเพื่อไปตอบข้อสงสัยหรือตอบโจทย์ความต้องการของคนนั้น (ทำเว็บฯดักรอให้คนเห็นตามหลัก Pull Marketing) ไม่เหมือนการทำเนื้อหาและโฆษณาบน Social Media ที่ต้องโพสให้คนเห็นเพื่อกระตุ้นให้คนสนใจและต้องการตามหลัก Push Marketing
เราเลยอยากสรุปใจความสำคัญว่า SEO คืออะไรกันแน่ จากนั้นเราจะสอนกลยุทธ์ ขั้นตอนและเครื่องมือที่ใช้ทำ SEO รวมถึงปัจจัยที่ส่งผลต่ออันดับของเว็บไซต์บน Google
SEO คืออะไร ?
SEO หรือ Search Engine Optimization คือการทำให้คนเห็น เยี่ยมชมและได้รับประสบการณ์ที่ดีจากเว็บไซต์หรือใช้แอปพลิเคชั่นมากขึ้นบน Google ที่ครองตลาดใหญ่ที่สุดของ Search Engine โดยไม่พึ่งเงินทำโฆษณาออนไลน์ให้คนคลิกเข้าเว็บฯหรือแอปฯตรงๆ (Pay per click) เป็นหลัก
SEO จะทำหน้าที่ให้คนรับรู้ว่าเว็บไซต์ของเราอาจเกี่ยวข้องกับสิ่งที่สงสัยและลองเข้าไปเยี่ยมชมและสนใจ และหากสนใจจนอยากซื้อสินค้าหรือใช้บริการ ก็สามารถค้นหาแบรนด์ของเราและเจอเว็บฯของเราที่ทำ Google Adwords รอไว้อยู่แล้วซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการทำ SEM (Search Engine Marketing) นั่นเอง (แต่ในที่นี้จะขออธิบายแค่ SEO เท่านั้น)
SEO จึงไม่ใช่แค่การทำให้เว็บไซต์และแอปฯที่เป็น Digital Asset ติดอันดับหน้าหนึ่งบน Google เพียงอย่างเดียว
ภาพรวมของการทำ SEO ที่ไม่ใช่แค่เรื่องของคีย์เวิร์ดอย่างเดียว (อ้างอิงจาก singlegrain.com)
ขั้นตอนนี้การทำ Google Adwords จะมีประสิทธิภาพมากกว่าทำ SEO เฉยๆ เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายตัดสินใจที่จะซื้อสินค้าหรือเลือกใช้บริการของเราแล้ว จึงค้นหาชื่อแบรนด์ของเราโดยตรง ฉะนั้นควรทำให้เว็บเพจที่ขายของไปอยู่อันดับต้นๆบนหน้าแรกของ Google โดยใช้โฆษณา Google Adwords ดีกว่าปล่อยให้กลุ่มเป้าหมายไปเจอเว็บฯของคู่แข่งแทน
เปิด Google พิมพ์คำว่า intitle: “(คีย์เวิร์ดที่มีอยู่ใน Excel)” เพิ่อดูจำนวนเว็บไซต์ที่มีคีย์เวิร์ดตัวนั้นใน Title Tag มันจะทำให้เรารู้ว่าคีย์เวิร์ดตัวนั้นแข่งกันมากน้อยแค่ไหน จำนวนที่ได้ก็เอาไปใส่ใน Excel
ให้ลองพิมพ์คีย์เวิร์ดแต่ละตัวใน Google แล้วหาเพจที่คิดว่ามีคุณภาพดีสัก 1-2 เพจ เก็บ URL ของเพจนั้นไว้ใน Excel ข้างๆคีย์เวิร์ดตัวนั้น ซึ่งเพจที่ว่าก็อยู่ในหน้าแรกของ Google
Internal Link คือลิงค์ที่เชื่อกับเพจในเว็บไซต์ของเราเอง แนะนำว่าเราควรลิสต์ออกมาว่าเว็บไซต์ของเรามีเพจอะไรบ้าง เนื้อหาของแต่ละเพจมีความเกี่ยวข้องกันมากน้อยแค่ไหน อยู่ในหมวดเดียวกันหรือเปล่า ฉะนั้นควรวางแผนว่าเพจไหนควรอ้างอิงหรือลิงค์ไปเพจไหนให้เกี่ยวข้องกันให้มากที่สุด และตรวจสอบด้วยว่าเพจที่เราลิงค์ไปหาเกี่ยวข้องกันและยังอยู่ดี
มิฉะนั้นจะทำให้อันดับของเพจเราตกได้
ส่วน External Link คือลิงค์ที่เชื่อมกับเว็บเพจภายนอก จริงๆหากเราทำคอนเทนต์ดีๆ เว็บฯอื่นก็จะลิงค์มาที่เพจเรา ทำให้ Google มองว่าเว็บฯของเราน่าเชื่อถือมากขึ้น
ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่ต้องมีการอัพเดทอยู่ตลอดเวลา หากเว็บที่เพจของเราไปลิ้งค์เกิดเปลี่ยนหรือหายขึ้นมา (ลิงค์เสีย) ก็จะส่งผลกระทบกับ SEO ของเพจเราในอนาคต หากอ้างอิงตามกูรู SEO 150 คนทั่วโลกที่ MOZ ไปสอบถามมาในปี 2015 External link หรือ Domain-level link นี่แหละที่มีผลต่ออันดับของเว็บฯมากที่สุด๖มากกว่าคีย์เวิร์ดด้วยซ้ำ) รองมาเป็น Internal Link หรือ Page-level link และ Link จะมีอิทธิพลมากกว่าคีย์เวิร์ดต่อไปเรื่อยๆด้วย
ปัจจัยที่ส่งผลต่ออันดับเว็บฯบน Google (สำรวจโดย MOZ)
5. วัดผลและปรับแต่งเพจและเนื้อหา
เราสามารถให้ SEO Lighthouse เพื่อตรวจสอบจุดที่ผิดพลาดในการทำ SEO ได้คร่าวๆ แต่หากต้องการความละเอียดขึ้นต้องใช้ Google Search Console ไว้ตรวจสอบดูแลเว็บไซต์ของเราดู ว่าเว็บฯของเรามีช่องโหว่ตรงไหนบ้าง และจะแจ้งเตือนปัญหาให้รู้ เช่นแสดงผลผิดปกติ มีสแปม มีเพจซ้ำซ้อน เครื่องมือตัวนี้ยังบอกความถี่ที่เว็บฯของเราไปปรากฎตามคีย์เวิร์ดต่างๆ รวมถึงเว็บฯที่ลิงค์มาหาเว็บฯเรา
การทำ SEO ถือเป็นสิ่งหนึ่งที่ไม่เคยตกยุคสมัยในการทำ Digital Marketing เลย จากประสบการณ์ตั้งแต่เริ่มเข้ามาทำงานด้าน Ecommerce เมื่อสิบกว่าปีก่อน ชีวิตการทำงานก็เกี่ยวข้องกับสิ่งนี้มาตลอดจนถึงขณะที่เขียนบทความนี้อยู่ ส่วนตัวแล้วพูดได้เต็มปากว่าการทำ SEO มีความจำเป็นต่อทุกธุรกิจ และจะไม่มีทางหายไปจากการทำ Digital Marketing ได้เลย เพียงแต่มันอาจจะมีการเปลี่ยนรูปแบบ วิธีการ หรือจะเปลี่ยนชื่อไปเท่านั้นเอง เพราะตราบใดที่คนเรายังมี ปัญหา มีความต้องการ อยากรู้ อยากเห็น อยากไป อยากซื้อ อยากอะไรก็แล้วแต่ ที่พึ่งเดียวในตอนนี้และอาจจะตลอดไปก็คือ Google ดังนั้นสิ่งที่คนทำการตลาดออนไลน์โดยเฉพาะการทำ Search Engine Marketing จะต้องทำอย่างสม่ำเสมอก็คือ การเรียนรู้ ติดตามอัพเดท ข่าวสารเรื่อง SEO อย่างต่อเนื่อง เพื่อที่จะได้วางแผน และปรับกลยุทธ์ให้ทันกับเทคโนโลโยที่ Google ใช้ในการจัดอันดับแสดงผล บทความนี้มาอัพเดทกันว่าในปี 2020 ที่จะถึงนี้มีเรื่องอะไรบ้างที่เราจะต้องให้ความสำคัญในการทำ SEO
เทรนด์การทำ SEO ปี 2020
1) เพิ่มความน่าสนใจด้วย Featured Snippets
Featured Snippets ไม่ใช่เรื่องใหม่อะไรนัก คนที่ทำ SEO อาจจะรู้จักกันในชื่ออื่นเช่น Answer Box หรือ Position Zero ที่เรียกว่า Position Zero เพราะ Featured Snippets จะแสดงผลอยู่ก่อนอันดับแรกนั่นแหละครับ ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว Featured Snippets มักจะแสดงผลลัพธ์ในลักษณะของการให้ข้อมูลและตอบคำถามแบบสั้นๆ และมีรูปแบบที่พิเศษแตกต่างจากผลลัพธ์ทั่วไป โดยเฉพาะกับการค้นหาข้อมูลแบบ What is / คืออะไร หรือ How to / ทำอย่างไร ตามตัวอย่างนี้
John Mueller แนะนำให้ใช้ Table ใน HTML เพราะเป็น content ที่เข้าใจง่ายและดึงเอาไปใช้งานได้ดี และ Table ก็เป็น Clear Structure ตามที่กล่าวในข้อ 2
จาก Research พบว่า ordered และ unordered list (แท็ก <ol><ul>)มีส่วนช่วยในการแสดงผลบน Featured Snippets เรื่องนี้ John Mueller กล่าวว่าไม่ได้เกี่ยวกับ Ordered หรือ Unordered List โดยตรง แต่ที่เนื้อหาใน List มักจะแสดงผลบน Featured Snippets เป็นเพราะมันเป็นเนื้อหาที่ well-structure ตามที่กล่าวในข้อ 2 อีกแล้ว…
เตรียมตัวให้พร้อมสำหรับ Structured data หรือ Schema Mark-up ซึ่งเป็นวิธีการของการกำหนดโครงสร้างของเนื้อหาบนหน้าเว็บ และเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้ Search Engine เข้าใจเนื้อหาได้อย่างถูกต้อง ในส่วนของ Voice ทาง Google ได้มีการกำหนด Schema Strutured Data ออกมาในชื่อที่เรียกว่า Speakable Structured Data โดยเฉพาะสำหรับเว็บไซต์ Content และเว็บข่าว ใครสนใจอ่านเพิ่มเติมได้จาก speakable structured data
4) AI Artificial Intelligence จากนี้และตลอดไป
เมื่อ Google ประกาศตัวว่าเป็น AI first company แล้ว ก็คงไม่ต้องสงสัยอะไรว่า AI (artificial intellingence) และ ML (machine learning) จะเข้าไปเกี่ยวข้องกับทุกโปรดักส์และเซอร์วิสของ Google นั่นรวมไปถึงเรื่องของ SEO อย่างแน่นอน เอาจริงๆ ในเรื่อง SEO นั้น AI ก็เริ่มเข้ามาเกี่ยวข้องบ้างแล้ว บางคนอาจจะเคยได้ยินคำว่า RankBrain มาบ้่าง RankBrain ก็เป็นตัวอย่างหนึ่งของ AI ที่ Google นำมาใช้ในการช่วยจัดอันดับและวิเคราะห์ผลลัพธ์ว่าตรงกับความต้องการของการค้นหามากน้อยแค่ไหน และก็ทำการเรียนรู้ไปเรื่อยๆ คำถามคือแล้วเราจะทำอย่างไร เมื่อ Google ใช้ AI ที่ฉลาดมากขึ้นทุกทีมาช่วยจัดการเรื่องของ SEO จะตอบคำถามแบบนี้ เราก็คงต้องมองไปที่วัตถุประสงค์ของการมี AI นั่นแหละครับ จะไปพูดถึงกระบวนการทำงานของ AI ก็คงจะลำบากและ Google ก็ไม่เคยให้รายละเอียดอะไรมากมายนัก สุดท้ายแล้วส่ิงที่ Google ต้องการให้เกิดขึ้นไม่ว่าจะใช้ คน หรือใช้ AI ก็ตามที ก็เพื่อให้ผลลัพธ์การค้นหาออกมาตรงกับความต้องการ (User Intent) และถูกต้องมากที่สุด คำถามคือ Google จะรู้ได้อย่างไรว่าผลลัพธ์ที่ไหนที่ดี เว็บไซต์ไหนที่ควรถูกนำมาแสดงผล คำตอบคำแบบง่ายๆ ก็คือ เนื้อหาที่ user ชอบนั่นแหละครับ และสิ่งที่จะบอกได้ว่า User ชอบหรือไม่ชอบ ก็คือส่ิงที่เราเรียกว่า User Signals เช่นค่า CTR, Dwell time หรือ Bounce Rate เป็นต้น ซึ่ง Google ก็จะนำข้อมูลนี้ไปวิเคราะห์ประมวลผลอีกที
ทำ SEO อย่างไร เมื่อ AI ฉลาดขึ้นทุกวัน
ตอบแบบตรงไปตรงมาก็คือ ทำเนื้อหาให้เกิดประโยชน์กับ User จริงๆ ทำเว็บไซต์ให้สวยและใช้งานง่าย พูดแบบรวบรัดก็คือ ทำทุกอย่างนั้นนั่นแหละครับ ไม่ว่าจะเป็น On-page SEO, Mobile-Friendly หรือ Backlink ก็ตาม เพราะสุดท้ายแล้ว Google ก็ใช้ทุก Signals ในการประมวลผลอยู่ดี ยิ่ง Signals เยอะ ความถูกต้องแม่นยำก็ยิ่งสูงขึ้น สิ่งที่อยากจะย้ำก็คือ แม้ AI จะเข้ามาเกี่ยวข้องกับ SEO มากเท่าไร แต่การทำ SEO นั้น เราไม่ได้ทำเพื่อให้ AI รักเรานะครับ แท้จริงแล้วการทำ SEO เป็นการทำให้ User รักเรามากกว่า เพราะถ้า User รักเรา AI ก็รักเรานั่นแหละครับ User signals มันฟ้องครับ 🙂
กระบวนการทำ SEO หรือ search engine optimization มีผู้เข้าใจผิดอยู่มากมาย ถึงขั้นมองเห็นแบบตรงข้ามกับที่เหล่านักทำ seo ทำกันเลยทีเดียว เราลองมาดูกันบ้างว่าความเข้าใจผิดต่อการทำ seo ที่ผู้ที่ไม่รู้หรือแม้แต่ผู้ที่รู้ ก็ยังเข้าใจผิดอยู่ตลอด
ผิดที่ 1 : เชื่อว่า SEO สำคัญที่ Backlink
SEO ไม่ใช่แค่การสร้าง Backlinks
ความเชื่อที่ผิดคือ seo คือการทำทุกอย่างเพื่อให้ได้ Backlink แม้ว่า แบคลิงค์จะมีคุณค่า แต่การทำทุกอย่างเพื่อให้ได้แบคลิงค์ ไม่ว่าจะเป็นการสแปม หรือโพสในเว็บที่ไม่เกี่ยวข้อง สิ่งที่ทำให้วงการ seo เป็นที่ติเตียนของนักท่องเว็บ หรือนักทำเว็บ ก็คือการสแปมไปทั่ว
การสร้างเว็บที่ดี ต้องทำควบคู่ไปกับการทำ SEO การทำ SEO ให้ได้ผลที่ดี ต้องการเว็บที่มีพื้นฐานดี
การทำเว็บให้ดี สำคัญกว่าการปรับแต่ง seo แต่หากทำแต่เว็บโดยไม่คำนึงถึงเรื่องการปรับแต่ง SEO เลย ก็เปรียบเสมือนเพชรที่อยู่ในทะเลลึกยากจะมีคนเข้าหา การทำเว็บแบบสมัยใหม่ อาศัยปากต่อปาก การจะเกิดมาในโลกออนไลน์ค่อนข้างยาก ยกเว้นว่าจับกลุ่มได้ถูกต้อง นักทำเว็บไซต์รุ่นใหม่จึงหันมาสร้างความโดดเด่นทางด้าน seo ซึ่งอาจใช้เงินจำนวนมาก
แต่ถึงกระนั่น ก็อย่าละเลยพื้นฐานของเว็บไซต์ที่ดี นั่นคือ เนื้อหา หน้าตาของเว็บ ความถูกต้อง ระบบนำทางที่ดี การดีไซน์ที่ดีหรือมีเอกลักษณ์ และเนื้อหาที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ที่สำคัญคือการสร้าง seo ไม่สามารถสร้าง brand ได้ จะเห็นว่า brand ดังๆ ไม่ได้เกิดมาจาก seo หรือไม่ได้สนใจเรื่องของ seo เลยด้วยซ้ำ แต่ผู้คนจะกล่าวถึงความประทับใจในจุดอื่นๆของเว็บไซต์
ผิดที่ 4 : เชื่อว่าทำ SEO ห้ามพัก ห้ามหยุด (ถ้าหยุดอันดับร่วง)
การทำ SEO มันไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว … สูตรสำเร็จที่ว่าใช้ได้ผลวันนี้ พรุ่งนี้อาจจะไม่ได้ผล เพราะ Google พัฒนาปรับเปลี่ยนอยู่ตลอด เพื่อให้ระบบค้นหาแสดงผลที่ดีที่สุด
ผิดที่ 6 : เชื่อว่าถ้าทำตามตำรา SEO (หรือ Blog ที่อ่าน) อันดับจะดี
เรื่องของ SEO เมื่อคุณได้ลงมือทำ ลองผิดลองถูกด้วยตัวเอง คุณจะพบคำถามมากมาย ที่บางที คัมภีร์ SEO ไม่ได้บอกไว้
อย่าเชื่อผู้อื่นมากเกินไป … การทำ seo นั้น ทักษะ เกิดจากการปฏิบัติด้วยตนเอง การเชื่อคำกล่าวอ้าง หรือแม้ตำราโดยไม่ลองทำเอง อาจไม่ได้ผลตามที่กล่าวอ้าง บางครั้ง ปัจจัยต่างๆ ไม่เหมือนกัน ยกตัวอย่างเช่น ระบบการทำ link wheel ที่อ้างกันว่าเป็นระบบที่ดี ในบางครั้งกลับกลายเป็นฆ่าตัวเองเพราะ link wheel เหล่านั้นมาจากโฮสต์ IP และผู้ทำเว็บชุดเดียวกัน กลับกลายเป็น wheel ซ้อน และเป็นลิงค์ย้อนกลับหรือ ลิงค์แบบสามเหลี่ยม ไร้ประโยชน์เลยก็ได้ หรือแม้กระทั่งข่าวที่ีการเปลี่ยน algo ทั้งหลายทั้งปวง อาจไม่มีผลต่อสิ่งที่เราทำมาเลยก็ได้
คู่มือ หรือ คัมภีร์ หรือ อาจารย์สอน SEO ที่ดีที่สุด ก็คือ “Google”
ผิดที่ 7 : เชื่อว่า SEO ยากเกิน ต้องจ้างคนที่รู้ SEO มาทำให้
SEO สามารถศึกษาเรียนรู้และทำด้วยตัวเองได้ (ถ้าเปิดใจ)
seo เป็นเรื่องที่ยาก ต้องจ้างคนทำ อันนี้ผิด ที่จริงแล้ว แค่เพียงเข้ามาอ่านหาความรู้ ไม่กี่สัปดาห์ ก็สามารถเข้าใจได้เกือบ 80% เนื่องจากตำราอ้างอิงเป็นจำนวนมาก (และล้วนเอามาจากที่เดียวกันด้วย) สิ่งที่เรารู้คือ know how เท่าๆกัน แตกต่างกันที่การลงมือทำเท่านั้นเอง
ผิดที่ 9 : เชื่อว่า SEO เป็นเรื่องง่ายๆ ใครก็ทำได้
SEO มันไม่ยาก แต่มันก็ไม่ง่ายนะ มันเป็นศาสตร์ที่ลึกซึ้งปนลึกลับ (ผมถึงชอบ SEO)
อันนี้ก็เป็นเรื่องที่เข้าใจผิดเช่นกัน โดยเฉพาะน้องใหม่ไฟแรง แต่โหมไฟแรงเกินไปย่อมได้รับประสบการณ์เจ็บปวดไปตามๆกัน มันจะมี timing อันหนึ่งที่ทดสอบมือใหม่ ซึ่งถ้าผ่านไปได้ก็จะสามารถทำ seo ให้ดีได้เฉกเช่นเดียวกับมือเก่า seo นั้นง่ายพอๆกับการเปิด windows และยากพอๆกับการหาจุดบกพร่องใน windows
การเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา หาจุดบกพร่อง และลงมือแก้ไข คือสิ่งที่คนทำ SEO (ไม่ว่าจะมือใหม่หรือมือเก่า) พึงควรจะกระทำ
ผิดที่ 10 : เชื่อว่า อาชีพทำ SEO รวย!!
T_T คนทำ SEO น่าจะเข้าใจดีนะครับ T_T
คนทั่วไปมักคิดว่า นักทำ seo มักจะร่ำรวยและมีความเต็มใจในการทำ seo ไม่ว่าโจทย์จะเป็นอย่างไร ถ้าคุณมีเงินจ่ายถึง … อยากให้ลองหาคำตอบจากตัวคุณเองและผู้อยู่รอบข้างดูครับว่ามันจริงกันทุกคนไหม
วลีอมตะอยู่อันหนึ่งคือ ถ้า big daddy ไม่รักจริงทำให้ตายก็ไม่ติด กับอีกอันหนึ่งคือ ถ้าคุณร่ำรวยจากการทำ seo ได้ จะไม่ง่ายกว่าหรือถ้าจะปรับแต่ง seo เพื่อหาความร่ำรวยจากเว็บของตัวเอง
ความรู้ความเข้าใจในเรื่อง SEO เป็นส่วนหนึ่งของการทำตลาดออนไลน์ ที่ผลลัพธ์จากการทำ SEO อาจจะช่วยทำให้คุณรวยได้ (ถ้ารู้จักเอาไปต่อยอด)
keyword ที่กลุ่มลูกค้าเป้าหมายจะใช้ในการสืบค้นนั้น ผู้จะทำเว็บไซต์ SEO ควรศึกษาจาก Google search หรือระบบโปรแกรมวิเคราะห์อื่น ๆ เพื่อจะได้นำคีย์เวิร์ดเหล่านั้นมาสร้างบทความและสื่อมัลติมีเดียที่ตอบโจทย์ความต้องการได้ตรงยิ่งขึ้น
เว็บไซต์ SEO ควรใช้งานง่ายทั้งทางโทรศัพท์มือถือและคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ เพราะคนส่วนใหญ่พกมือถือสืบค้นข้อมูลตลอดเวลา จะทำให้มียอดการขายที่สูงขึ้นอย่างสม่ำเสมอได้ การปรับที่โครงสร้างและระบบเทคนิคเชื่อมโยงข้อมูลจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก
การจ้างบริษัททำเว็บไซต์ SEO
การจ้างบริษัททำ SEO จึงเป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน รวมถึงการจ้างนักเขียนในการเขียน Content ที่มีคุณภาพ เพื่อให้เจ้าของธุรกิจออนไลน์มีเวลาไปทำงานด้านบริหารหรือส่วนอื่น ๆ ที่จำเป็นและถนัดกว่า ซึ่งสามารถขอดูข้อมูลและแพคเก็จจากบริษัทเหล่านี้เพื่อเปรียบเทียบความสามารถและราคาได้โดยตรง
การทำ SEO จะช่วยให้การทำการตลาดออนไลน์ของธุรกิจนั้นง่ายยิ่งขึ้น และสามารถประสบความสำเร็จ บรรลุเป้าหมายทั้งการขายและยอดลูกค้าที่ดีที่มากขึ้นในระยะยาวได้ นักธุรกิจออนไลน์ทุกคนจึงไม่ควรมองข้ามการทำ SEO ให้เว็บไซต์โดยเด็ดขาด
แน่นอนว่าเราเข้าใจลูกค้าทุกๆ ท่านเป็นอย่างดีว่าทุกวินาทีมีค่า ทุกคนที่ทำธุรกิจ สินค้าหรือบริการขึ้นมา ต่างก็อยากให้แบรนด์ของตัวเองเป็นที่รู้จัก เข้าถึงได้ง่ายด้วยกันทั้งนั้น แต่การทำ SEO นั้นเป็นกระบวนการทางการตลาดออนไลน์แบบที่เราไม่ต้องเสียเงินให้กับ Google สักบาท ซึ่งแน่นอนว่าผลลัพธ์จะต่างจากการซื้อโฆษณาแบบ Google Ads ที่จะเห็นโฆษณา เว็บไซต์ของคุณได้ทันนี้ บทความนี้เราจึงจะมาพูดคุยถึงระยะเวลาในการทำ SEO พร้อมอธิบายขั้นตอนต่างๆ เพื่อไขความกระจ่างให้คุณเข้าใจระบบเหล่านี้
ก่อนทำ SEO ต้องรู้จัก SEP เสียก่อนว่าคืออะไร
SEP หรือ Search Engine Procedure เป็นกระบวนการทำงานของ Google โดยมีองค์ประกอบหลัก 5 อย่างดังต่อไปนี้
1. Google (แพลตฟอร์มค้นหา)
2. Google Bot (ระบบอัจฉริยะ ที่จะเข้ามาทำการตรวจสอบ ให้คะแนนเว็บไซต์ต่างๆ)
โดยองค์ประกอบทั้ง 5 นี้จะเป็นตัวช่วยให้เว็บไซต์ของคุณขึ้นหน้าแรกได้ แต่ต้องเข้าใจกระบวนการและทำอย่างถูกต้องเพราะ Google จะมีเกณฑ์ในการเลือกเอาเว็บไซต์ต่างๆ มาแสดงบนหน้าแรก ถ้าหากวิธีทำให้ติด Google หน้าแรกของคุณตรงตามเกณฑ์ที่ Google ตั้งเอาไว้ เว็บไซต์ของคุณก็จะมีโอกาสขึ้นมาอยู่บนหน้าแรกได้
อย่างที่เรากล่าวไปตอนต้นว่า SEO ต่างจากการทำโฆษณาแบบ Google Ads เพราะ SEO นั้นจะต้องใช้การปรับแต่งเว็บไซต์และระยะเวลาที่ทำสม่ำเสมอถึงจะส่งผลแบบออร์แกนิค (ขึ้นอย่างธรรมชาติ) โดยปกติแล้วหากเป็นเว็บไซต์ที่ไม่เคยผ่านการทำ SEO มาเลยหรือเว็บไซต์ใหม่จะใช้เวลา “อย่างน้อย 6 เดือน” เว็บไซต์จึงจะเริ่มขึ้นมาติดที่หน้าแรก คุณอาจเคยได้ยินมาว่าดิจิทัลเอเจนซี่บางแห่งสามารถทำเว็บไซต์ของคุณให้ติดหน้าแรกได้อย่างรวดเร็วในระยะเวลาที่สั้นมากๆ ให้คุณพึงไตร่ตรองเอาไว้ถึงผลเสียที่อาจจะตามมาได้
ถ้าถามว่าสามารถทำให้เว็บไซต์ติดอันดับหน้าแรกในระยะเวลาอันสั้นได้ไหมคำตอบคือ “ได้” แต่คนในวงการ SEO จะเรียกกลุ่มเหล่านี้ว่า “สายดำ” คือใช้เทคนิคต่างๆ ในการทำให้เว็บไซต์ของคุณขึ้นหน้าแรกได้อย่างรวดเร็วแต่ท้ายที่สุดแล้วหากโดน Google ตรวจสอบได้บทลงโทษที่คุณจะได้รับอาจไม่คุ้มค่ากับสิ่งที่คุณต้องเสียไปก็ได้ ดังนั้นการหาวิธีทำให้ติด Google หน้าแรกแบบถูกต้องจึงเป็นหนทางที่เราแนะนำมากที่สุด
แต่ผลสำรวจจาก thewebsitegroup.co.uk พบว่ามีเพียง 22% เท่านั้นที่เว็บไซต์เกิดใหม่จะสามารถขึ้นมาติดอันดับ TOP 10 บน Google หน้าแรกได้และมักจะไม่คงทนถาวร เพราะเว็บไซต์ที่จะติดอยู่บนหน้าแรกของ Google แบบยาวนานนั้นส่วนมากจะมีอายุอย่างน้อย 3 ปีขึ้นไป ดังนั้นการทำ SEO แบบสม่ำเสมอจึงเป็นสิ่งสำคัญที่เว็บไซต์ทั้งใหม่-เก่าจะต้องไม่ละเลย
เลือกเอเจนซี่มาทำ SEO อย่างไรไม่ให้พลาด
สำหรับปัจจุบันนั้นต้องบอกเลยว่ามีบริษัทดิจิทัลเอเจนซี่เกิดขึ้นเยอะมาก ก็จะมีทั้งเจ้าใหญ่ เจ้าเล็กโดยบริการของแต่ละแห่งก็จะแตกต่างกันออกไปและที่สำคัญความถนัดของแต่ละที่ก็ไม่เหมือนกันด้วยดังนั้นหากคุณเป็นเจ้าของธุรกิจที่อาจจะไม่ได้คุ้นเคยกับตลาดออนไลน์สักเท่าไหร่นัก การมองหาเอเจนซี่ที่เป็นพาร์ทเนอร์กับ Google (Google Partner) มีผลงานให้เห็นเด่นชัด ได้รับรางวัลการันตีต่างๆ มากมายทั้งทางด้าน SEO และการตลาดดิจิทัลอื่นๆ ก็จะดูน่าเชื่อถือยิ่งขึ้นเพราะบริษัทที่เป็นพาร์ทเนอร์กับ Google ยิ่งถ้าเป็นระดับ Premier ด้วยแล้วพวกเขาจะไม่มีทางใช้วิธีทำให้ติด Google หน้าแรก แบบผิดกฎของ Google อย่างแน่นอน
เรื่องการตลาด ไม่ว่าจะเป็นการตลาดแบบออฟไลน์หรือออนไลน์ ก็ล้วนแล้วแต่ต้องอาศัยระยะเวลาในการแสดงผลลัพธ์ด้วยกันทั้งนั้น ดังนั้นการทำอย่างสม่ำเสมอต่างหากคือกุญแจแห่งความสำเร็จ หากคุณเป็นเจ้าของธุรกิจที่กำลังมองหาวิธีทำให้ติด Google หน้าแรก หรือสงสัยว่าทำ SEO ใช้เวลานานไหม บทความนี้ก็ได้ให้ตอบคำถามของคุณไว้หมดแล้ว ทีนี้ก็เหลือแค่นำไปปรับใช้และทำให้มีประสิทธิภาพเว็บไซต์ธุรกิจของคุณให้มากขึ้นเท่านั้น